ประวัติสำนักส่งเสริมฯ

ประวัติความเป็นมาโดยสังเขป

นับจากวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2518 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติ “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา” ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เป็นต้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตครูอาชีวศึกษาระดับปริญญาตรีให้การศึกษาทางด้านอาชีพทั้งระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และประกาศนียบัตรชั้นสูง ทำการวิจัยส่งเสริมการศึกษาทางด้านวิชาชีพ และให้บริการทางวิชาการแก่สังคม วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ได้พัฒนาระบบการเรียนการสอนให้ได้มาตรฐานการศึกษาที่มีคุณภาพ และศักยภาพ มีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน จนกระทั่งปี 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชนามชื่อใหม่ว่า “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล” ในวันที่ 15 กันยายน 2531

สืบเนื่องจากแนวทางการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่มุ่งมั่นกระจายอำนาจการบริหารจัดการสู่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาของรัฐ ดำเนินการโดยอิสระ และมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา ดังนั้นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลจึงได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติฉบับเดิมและยกร่างเป็น พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2548 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 และ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2548 โดยมีการรวมวิทยาเขต จัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลจำนวน 9 แห่ง ประกอบด้วย

1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
4. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

โดยมีวัตถุประสงค์ให้ 9 มหาวิทยาลัยนี้เป็นมหาวิทยาลัยสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สามารถจัดการศึกษาวิชาการ และวิชาชีพชั้นสูงที่เน้นการปฏิบัติทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก เพื่อรองรับการศึกษาต่อของผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอาชีวศึกษาเป็นหลักรวมถึงให้โอกาสแก่ผู้เรียนจากวิทยาลัยชุมชน และการศึกษาขั้นพื้นฐานในการศึกษาต่อวิชาชีพระดับอุดมศึกษา โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ

ต่อมากระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกกฎกระทรวงตาม มาตรา 6 และ 9 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 118 ก. ออกเป็น 12 ส่วนราชการ ดังนี้ คือ

1. สำนักงานอธิการบดี
2. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
3. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
4. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
5. คณะบริหารธุรกิจ
6. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
7. คณะวิศวกรรมศาสตร์
8. คณะศิลปศาสตร์
9. คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น
10. สถาบันวิจัยและพัฒนา
11. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
12. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

โดยสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน เป็นส่วนราชการหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร พ.ศ. 2548 หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 8 มีหน้าทีรับผิดชอบในด้านส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครอย่างมีคุณภาพ และเป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ อันได้แก่ สถานศึกษาอื่น สถานประกอบการ ผู้ปกครอง นักศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

#######################################

เป้าประสงค์

เป็นเป้าหมายสูงสุดของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนที่จะต้องก้าวให้ถึงในอนาคต โดยบุคลากรทุกคนยึดมั่นและใฝ่ฝัน คือ

1. เป็นศูนย์กลางในการให้บริการข้อมูลสารสนเทศ ด้านหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน
แก่นักศึกษา อาจารย์ คณะ มหาวิทยาลัยฯ และบุคคลทั่วไป
2. เป็นศูนย์กลางในการประมวลผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ
3. เป็นศูนย์กลางข้อมูลทะเบียนประวัติและผลการศึกษานักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ
4. เป็นศูนย์กลางในการประสานงานด้านวิชาการและงานทะเบียน
ของมหาวิทยาลัยฯกับหน่วยงานอื่น

#######################################

อุดมการณ์

อุดมการณ์ในการปฏิบัติงานของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนเพื่อให้
บรรลุเป้าประสงค์จะต้องเป็นไปตามครรลองแห่งความถูกต้อง เป็นธรรม
ความรับผิดชอบ และเห็นคุณค่าของบุคลากร จะมีดังต่อไปนี้

ประการที่ 1 ตั้งมั่นในความเป็นธรรม

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ไม่ว่าจะเป็น
สถานประกอบการ สถานศึกษาอื่นๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคลากร นักศึกษา
ผู้ปกครองจะต้องได้รับการให้บริการอย่างเป็นธรรม ดังนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นสถานประกอบการ
สถานศึกษาอื่นๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคลากร นักศึกษา ผู้ปกครองจะต้องได้รับการ
ให้บริการอย่างเป็นธรรม ดังนี้

1. ด้านสถานประกอบการ สถานศึกษาอื่นๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะได้รับการบริการที่มีคุณภาพ
1.1 บัณฑิตที่มีคุณภาพ
1.2 เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ
1.3 ข้อมูลทางด้านวิชาการ
1.4 ทะเบียนประวัติต่างๆของนักศึกษา
2. ด้านผู้ปกครองและนักศึกษา จะได้รับการบริการที่ดี มีคุณภาพ คือ
2.1 การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
2.2 การให้การบริการในการขึ้น-ลงทะเบียน
2.3 การแจ้งผลการศึกษาที่มีคุณภาพ
3. ด้านบุคลากร
3.1 บุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน
3.2 ดูแลให้ได้รับผลการตอบแทนที่เหมาะสม เทียบเท่าหน่วยงานประเภทเดี่ยวกัน

ประการที่ 2 เชื่อมั่นในคุณค่าของบุคลากร

ให้ความสำคัญต่อคุณค่าของบุคลากร และถือว่าบุคลากรเป็นทรัพยากรที่มีค่า
ให้การฝึกฝน พัฒนาและดูแลด้วยผลตอบแทนตามสมควร ตลอดจนสร้าง
มนุษย์สัมพันธ์เพื่อการปฏิบัติงานอย่างมีความสุข คือ

1. ให้การยกย่ออง ชมเชย สรรเสริญ เมื่อถึงโอกาสอันควร
2. ให้โอกาสเขาพูด และรับฟังความคิดเห็นของเขาอย่างตั้งใจ
3. ละเว้นความหยิ่งยะโสที่แสดงให้เห็นว่าเหนือกว่าเขา
4. ยิ้มแย้มแจ่มใส และทำตัวเข้ากับเขาก่อนเสมอ
5. ไม่อิจฉาริษยา นินทาว่าร้าย ไม่โยนหรือวัดทอดความผิดไปให้
ซึ่งสรุปแล้วจะใช้หลักการ 5 ย. สุ่การบริหารงานบุคคล คือ ” ยิ้ม เย็น ยินดี ยกย่อง ยอม”

ประการที่ 3 มุ่งมั่นความเป็นเลิศ

มุ่งปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจ ให้เกิดผลอย่างดีเยี่ยมเต็มความสามารถ พยายามหา
แนวทางการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศอยู่ตลอดเวลา และต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายองค์กรสู่
ความเป็นเลิศ คือ

1. ศึกษาแนวโนบายของงานที่กำหนดไว้
2. สำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรค
3. วิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน เพื่อกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาองค์กร
4. ช่วยกันทำแผนเพื่อพัฒนาองค์กร
5. นำแผนมาจัดทำโครงการพัฒนาองค์กร / ระยะสั้น / ปานกลาง / ระยะยาว
6. ปฏิบัติตามแผน /โครงการ ที่กำหนด ทุกฝ่าย / ทุกคนด้วยความจริงใจ/
จริงจัง / ทั้งทีมงาน

ประการที่ 4 ถือมั่นในความรับผิดชอบ ต่อผู้รับบริการ

ต้องมีเจตนารมณ์ในการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่พึงมี
ต่อผู้รับบริการเป็นสำคัญ โดยยึดหลัก “ทำอย่างไรผู้อื่นจึงจะพึงพอใจด้วยความจริงใจ”
ดังนี้

1. สร้างความพึงพอใจให้เกิดกับผู้รับบริการทั้งกิริยา ท่าทางและการพูดจา
2. ปฏิบัติงานด้วยความยิ้มแย้ม
3. เอาใจใส่อย่างจริงใจต่อผู้รับบริการ
4. เป็นบุคคลใจคอกว้างขวาง ยินดีรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการ
5. เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
6. เป็นนักสนทนาที่ดี
7. เป็นนักฟังที่ดี
8. รู้จักให้อภัยผู้อื่น
9. รู้จักประนีประนอม
10. ยอมแพ้เสียบ้างในบางครั้งบางคราว

#######################################

ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน

ในการปฏิรูประบบบริหารงานให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์การดำเนินงาน 4 ประการ คือ

1. จัดโครงสร้างการบริหารงานให้มีความคล่องตัว มีเอกภาพในการตัดสินใจรับผิดชอบและแก้ปัญหาโดยมีบทบาทภารกิจที่ชัดเจนวัดผลสำเร็จได้ และมีสายสัมพันธ์ในการดำเนินงานที่เกี่ยวเนื่องกัน มีผู้รับผิดชอบการบริหารงานและผลงานตามบทบาทภารกิจที่ได้รับมอบหมายที่ชัดเจนทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ

2. สร้างระบบการทำงานที่สั้น รวดเร็ว มีผู้รับผิดชอบ วัดผลงานได้โดยให้ค่าตอบแทนตามผลงาน ตั้งแต่การเลื่อนขั้น เพื่อให้เกิดการแข่งขันทั้งระดับบริหาร และระดับปฏิบัติการ

3. พัฒนากลไกในการดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันกับหน่วยงานประเภทเดียวกันได้ทั้งด้านต้นทุนการดำเนินงาน คุณภาพในการให้บริการและความพึงพอใจของผู้รับบริการ

4. พัฒนาและปรับทัศนคติ กรอบความคิดของบุคลากรในหน่วยงาน ให้มีอุดมการณ์ในการปฏิบัติ คือ ตั้งมั่นในความเป็นธรรม มุ่มมั่นในความเป็นเลิศ เชื่อมั่นในคุณค่าของตน และถือมั่นในความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้ที่มีมาตรฐานในวิชาชีพ มีจรรยาบรรณในการทำงาน มีการให้บริการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

#######################################